ThepExcel Logo
  • บทความ
    • Excel
      • Excel ทั่วไป
      • Excel Pivot Table
      • Excel Power Pivot
      • Power Query
      • Excel Array Formula
      • Excel VBA
      • Excel for Business
      • Excel and Maths
      • ฟังก์ชัน Excel ทั้งหมด
    • Power BI
      • Power Query
      • Data Model
      • DAX Formula
      • Power BI Report
    • Coding
      • Excel VBA
      • Python
      • Power Query M Code
    • AI
      • ChatGPT
      • Stable Diffusion
      • MidJourney
    • Highlights : บทความแนะนำ
    • คลิปวีดีโอ
  • อบรม
    • อบรมลูกค้าองค์กร
    • คอร์สออนไลน์ SkillLane
    • แนะนำวิทยากร
    • Excel/Power BI Skill Map
    • Quiz
  • Shop
    • คอร์สออนไลน์
    • สินค้าทั้งหมด
    • หนังสือเล่ม
    • E-Book
    • Cart
  • Download
    • Download ไฟล์จากเทพเอ็กเซล
    • ThepExcel-Mfx : M Code สำเร็จรูป
    • Date Table สำเร็จรูป
    • กราฟ My Skill
    • github.com/ThepExcel
  • รวม Link
    • รวม Link สอน Excel & Power BI ทั้งไทยและเทศ
    • รวม Link เกี่ยวกับ AI
    • รวม Link Coding
    • หนังสือแนะนำ
    • Facebook ThepExcel
    • YouTube ThepExcel
    • DAX Formatter
  • Contact
    • แนะนำ เทพเอ็กเซล (Thep Excel)
    • แนะนำวิทยากร : อาจารย์ ศิระ เอกบุตร (ระ)
    • นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy)
  • Facebook
  • YouTube

เคล็ดลับของการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Math Secret)

math secrets

Categories 📂

Excel and Maths

Tags 🏷️

calculation, math, principle

สิ่งที่ผมพบหลังจากสอน Excel และ Power BI เป็นเวลานานก็คือ ผู้เรียนหลายคนไม่ได้มีปัญหาเรื่องความรู้ Excel กับ Power BI แต่มีปัญหากับ math หรือ “ความรู้ทางคณิตศาสตร์”ต่างหาก ดังนั้นในบทความนี้ผมจะพยายามนำแนวความคิดสำคัญๆ มานำเสนอเพื่อนๆ เพื่อช่วยให้ความรู้ด้านคณิตศาตร์ของเพื่อนๆ แข็งแกร่งขึ้น จนใช้ Excel และ Power BI ได้ดีขึ้นไปด้วยนะครับ เพราะบอกเลยว่าการจะใช้ Excel / Power BI ได้ดี คุณควรจะมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่ดีด้วยนะครับ แต่ไม่ต้องกลัวว่าจะยาก เพราะหลักการที่จะสอนในบทความนี้เป็นหลักการง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำความเข้าใจได้ครับ

สารบัญ

  • หลักการ 1 : ถ้าเจอหน่วยแปลกๆ ให้เขียนหน่วยด้วยเสมอ
    • โจทย์ข้อ 1
    • ใน Excel ก็มีเรื่องที่ต้องระวังหน่วยนะ
  • หลักการ 2 : คณิตศาสตร์ไม่ใช่การใช้ความจำ
    • โจทย์ข้อ 2
  • หลักการ 3 : สมการ = สิ่งที่เป็นจริง
    • ในโจทย์ข้อ 1 อะไรคือความจริงล่ะ?
    • ในโจทย์ข้อ 2 อะไรคือความจริงล่ะ?
  • แล้วจะรู้สมการได้ยังไง?
  • Excel = การประยุกต์ความรู้

หลักการ 1 : ถ้าเจอหน่วยแปลกๆ ให้เขียนหน่วยด้วยเสมอ

โจทย์ข้อ 1

ขนม 5 ชิ้นราคารวม 20 บาท
ขนม 10 ชิ้นราคาเท่าไหร่?

ขนม 5 ชิ้นราคารวม 20 บาท
ถ้าใช้ บัญญัติไตรยางค์ หรือเทียบสัดส่วน ก็จะสามารถตอบได้แบบนี้
ขนม 10 ชิ้น กี่บาท? = 20/5 * 10 = 40 บาท

ซึ่งอันนี้คือถูกต้อง ไม่ได้มีปัญหาอะไร เป็นเพราะว่าหน่วยมันสอดคล้องกันอยู่แล้ว
เช่น ถ้าลองใส่หน่วยเข้าไป

ขนม 10 ชิ้น กี่บาท? = 20 บาท /5 ชิ้น * 10 ชิ้น = 40 บาท

จะพบว่า ชิ้นมันตัดกันจนเหลือแต่ บาท ซึ่งถูกต้อง

แต่ถ้าถามว่าขนม 2 โหล ราคาเท่าไหร่ ??
แบบนี้จะใช้ 20 บาท /5 ชิ้น * 2 โหล ไม่ได้เนอะ เพราะหน่วยมันผิด (หน่วยยังค้างเป็น บาท/ชิ้น *โหล อยู่เลย)

ต้องแก้โดยใส่ตัวแปลงหน่วยเข้าไปให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
เช่น 20 บาท /5 ชิ้น * 2 โหล * 12 ชิ้น/1 โหล = 96 บาท (หน่วยอื่นตัดกันหมด จนเหลือแต่ บาท แบบนี้ ok)

ใน Excel ก็มีเรื่องที่ต้องระวังหน่วยนะ

ลองดูโจทย์ข้อนี้ ถ้าเราจะคำนวณค่าใช้จ่าย จากการรู้เวลาเริ่มกับจบ แล้วรู้เรทค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงการทำงาน เราจะเอา B3*B4 เลยตรงๆ ไม่ได้ เพราะช่อง B3 ไม่ได้มีค่าที่แท้จริงคือ 5 ชั่วโมงนะ (ที่เห็น 5:00 คือ เป็นแค่ format หรือ รูปลักษณ์ภายนอก)

ต้องแปลงหน่วยของ เวลา ที่มีค่าที่แท้จริงคือ สัดส่วนของวัน (5 ชม. คือ 0.208 วัน ) ต้องแปลงให้เป็น ชั่วโมง โดยการคูณ 24 ก่อน

หลักการ 2 : คณิตศาสตร์ไม่ใช่การใช้ความจำ

คณิตศาสตร์เป็นเรื่องของความเข้าใจ ไม่ใช่ความจำ เราควรจะ make sense กับความหมายของตัวเลขที่แสดงออกมาด้วย

หลายคนใช้คณิตศาสตร์ในลักษณะของการจำ pattern แล้วก็เอาไปตอบเลย เช่น

โจทย์ข้อ 2

คน 2 คน ช่วยกันทำงานเสร็จใน 3 ชม
คน 4 คน ช่วยกันทำงานเสร็จในกี่ชม ?

ถ้าดันไปคิดในรูปแบบเดียวกับโจทย์ข้อที่ 1 ก็ผิดเลย… (โดยไม่ได้คิดเรื่องของความ Make sense ว่าเลขมันควรจะเพิ่ม หรือ ลด) เช่น

คน 2 คน ช่วยกันทำงานเสร็จใน 3 ชม
คน 4 คน ช่วยกันทำงานเสร็จ 3/2 * 4 = 6 ชม.!! (ใช้เวลาเยอะขึ้นไปอี๊กกก จริงๆ เวลาต้องลดลงสิ 555)

แล้วเราควรใช้หลักการอะไรดี? ถึงจะไม่โดนหลอก มาดูกันครับ

หลักการ 3 : สมการ = สิ่งที่เป็นจริง

หลักการที่สำคัญคือการคิดว่า ในโจทย์ที่บอกเรามา อะไรคือความสัมพันธ์ที่เป็นจริง? แล้วเราค่อยเอาสิ่งนั้นมาสร้างสมการอีกที

ซึ่งหลักการนี้สำคัญมากๆ เรามาดูตัวอย่างกัน

ในโจทย์ข้อ 1 อะไรคือความจริงล่ะ?

ขนม 5 ชิ้นราคารวม 20 บาท
ขนม 10 ชิ้นราคาเท่าไหร่?

ความจริงก็คือ ราคาต่อชิ้นของสินค้านั้นเท่าเดิมตลอด (เพราะไม่มีเงื่อนไขการลดราคาพิเศษ)
ดังนั้นเราจะตั้งสมการได้ว่า

ราคาต่อชิ้นตอนแรก (ซื้อ 5 ชิ้น) = ราคาต่อชิ้นตอนหลัง (ซื้อ 10 ชิ้น)
20/5  บาท/ชิ้น = ราคา/10  บาท/ชิ้น 

แค่นี้เราได้สมการที่สมบูรณ์แล้ว จากนั้นก็แค่ย้ายข้างหา ราคา ได้
ราคา =20/5 *10
ราคา =40 บาท

ซึ่งก็ได้คำตอบที่ถูกต้อง ไม่ต้อมานั่งงงว่าจะเอาอะไรคูณหารกันดี

ในโจทย์ข้อ 2 อะไรคือความจริงล่ะ?

คน 2 คน ช่วยกันทำงานเสร็จใน 3 ชม
คน 4 คน ช่วยกันทำงานเสร็จในกี่ชม ?

ความจริงในข้อนี้ หากคิดดูแล้วมันก็คือ จำนวนงานที่ทำนั้นเท่าเดิม เราอาจมองเป็นจำนวนชิ้นงานเท่าเดิมก็ได้
ดังนั้น ตาม sense แล้ว คนมาช่วยกันทำงานเยอะขึ้น ควรใช้เวลาน้อยลงสิ…

งานที่ทำตอนแรก (ชิ้น) = งานที่ทำตอนหลัง (ชิ้น)

ชิ้นงานที่ทำได้ เกิดจาก

ชิ้นงาน (ชิ้น) = ความเร็วในการทำงาน (ชิ้น/ชม.) * เวลา (ชม.) 
*** เปรียบเทียบคล้ายๆ กับ ระยะทาง คือ อัตราเร็ว x เวลานั่นแหละ


แต่คราวนี้ยิ่งคนเยอะขึ้น ความเร็วในการทำงานต้องเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้นก็จะได้ความสัมพันธ์อีกอันนึงว่า

ความเร็วในการทำงาน (ชิ้น/ชม.)   = ความเร็วในการทำงานต่อคน (ชิ้น/ชม./คน) * จำนวนคน (คน) 


ดังนั้นจะได้ว่า

ความเร็วในการทำงานต่อคน * จำนวนคน * เวลา   ตอนแรก = ความเร็วในการทำงานต่อคน * จำนวนคน * เวลา    ตอนหลัง 

**assume ว่า ความเร็วในการทำงานต่อคน นั้นเท่าเดิม ไม่ได้มีตัวถ่วง หรือไม่ได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จึงหารออกจากทั้ง 2 ข้าง **

จำนวนคน1 * เวลา1 = จำนวนคน2 * เวลา2

แทนค่าที่รู้แล้วได้ว่า

2 คน * 3 ชม. = 4 คน * เวลา ชม.

ย้ายข้างหาเวลา สุดท้ายจะได้ว่า

เวลา = 2 คน * 3 ชม. / 4 คน = 1.5 ชม.

และนี่คือคำตอบที่ถูกต้องครับ (แหละหน่วยก็ถูกด้วย)

ดังนั้นจะเห็นว่า ถ้าเราเริ่มต้นจากหลักการที่ถูกต้อง นั่นคือ เริ่มจากสมการความสัมพันธ์จริงๆ แล้วค่อยๆ ใส่ item ที่เรารู้ลงไป จนสุดท้ายเราจะแก้สมการหา item ที่เราไม่รู้ได้ หากทำแบบนี้ได้เราก็จะไม่หลงทางครับ

แล้วจะรู้สมการได้ยังไง?

อ่านถึงแล้ว หลายคนอาจจะเริ่มคิดว่า แล้วเราจะรู้ความสัมพันธ์หรือสมการในแต่ละสถานการณ์ได้ยังไงล่ะ?
คำตอบของคำถามนี้ก็คือ การศึกษาหาความรู้ หรือ การเรียนหนังสือยังไงล่ะครับ…

เราเรียนหนังสือเรื่องต่างๆ ตั้งแต่เด็กยันโต ทั้ง คณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ บัญชี การเงิน สังคม หรือ แม้แต่เรื่องเฉพาะทางเกี่ยวกับงานหรือธุรกิจที่คุณทำอยู่ เพื่อที่จะสามารถรู้หลักการ รู้ความจริง รู้กฏเกณฑ์ รู้ความสัมพันธ์ เพื่อที่จะใช้สร้างสมการทางตัวเลขที่ถูกต้องขึ้นมาครับ

เช่น

  • คนที่เรียนคณิตศาสตร์ ก็จะคำนวณเรื่องต่างๆ เช่น เรขาคณิต สถิติ ความน่าจะเป็นต่างๆ หรือเรื่องซับซ้อนอย่างพวกแคลคูลัส ได้
  • คนที่เรียนฟิสิกส์ ก็จะรู้สมการที่อธิบายเรื่องการทำงานของปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติได้ เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุหรืออณุภาคต่างๆ
  • คนที่เรียนเคมี ก็สามารถคำนวณการเปลี่ยนแปลงทางด้านเคมีต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
  • คนที่เรียนเรื่องบัญชี การเงิน เรื่องธุรกิจต่างๆ ก็จะมีหลักเกณฑ์ของสาขาวิชานั้นๆ แบบเฉพาะทางก็มี

Excel = การประยุกต์ความรู้

ซึ่งนอกจากจะรู้หลักการแล้ว ต้องสามารถนำมันกลับมาใช้ในชีวิตจริงได้ด้วย อันนี้คือสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยครับ ซึ่งการเขียนสูตรใน Excel ของพวกเรานั้น มันคือการประยุกต์เอาความรู้ ความสัมพันธ์ต่างๆ ในงานที่เราทำมาใช้นั่นแหละ

โดยที่สูตรที่เขียน มันก็คือ การคำนวณตัวแปรที่เราต้องการหาค่า นั่นแหละครับ
เช่น ถ้าผมจะแก้โจทย์ข้อ 1 กับ 2 ผมก็เขียน Excel แบบนี้

ดังนั้นคนที่เขียนสูตร Excel ไม่ได้ อาจจะมาจาก 2 สาเหตุ

  1. ไม่รู้สมการ หรือ ความสัมพันธ์ (ขาดความรู้เกี่ยวกับงาน เรียกว่า ขาด Domain Knowledge)
  2. ไม่รู้สูตร ฟังก์ชัน หรือ เครื่องมือต่างๆ ใน Excel (ขาดความรู้เกี่ยวกับ Excel)

ซึ่งการแก้ปัญหาเป็นคนละเรื่องกันเลยนะครับ สิ่งที่ผมจะช่วยได้ ก็มีข้อ 2 แหละครับ (มีฟังก์ชันใน Excel มากมายจะช่วยให้คุณหาคำตอบได้ง่ายกว่าสูตรทางคณิตศาสตร์เยอะ) แต่ถ้าคุณขาดความรู้เกี่ยวกับงานที่คุณกำลังทำอยู่ อันนี้ต้องไปหาความรู้จากผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ เพิ่มเติมด้วยครับ ความรู้ Excel อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอก็ได้

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณมีหลักการการคำนวณที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็กระตุ้นให้เห็นความสำคัญของเรื่องเหล่านี้นะครับ หากใครอ่านแล้วสงสัยอะไรตรงไหนก็ Comment ไว้ได้เลยนะ

แชร์ความรู้ให้เพื่อนๆ ของคุณ
312    
312    

ติดตามเทพเอ็กเซล

  • Facebook
  • YouTube

อบรมกับเทพเอ็กเซล

🔥 คอร์สใหม่ล่าสุด 🔥

การทำ Optimization ด้วย Excel Solver
สำหรับงานวางแผน
คอร์สออนไลน์ เทพเอ็กเซล
คอร์สออนไลน์ จากเทพเอ็กเซล ดูกี่รอบก็ได้
อบรม Excel / Power BI ให้องค์กรของคุณ

บทความล่าสุด

  • แนวทางฝึกฝน Excel ให้เก่งขึ้น
  • รวม Link เว็บ/เพจเกี่ยวกับ AI
  • วิธีกำหนดท่าทางแบบให้ได้ดั่งใจด้วย ControlNet ใน Stable Diffusion [Part4]
  • วิธีสั่ง Prompt และตั้งค่าใน Stable Diffusion ให้รูปสวยโดนใจ [Part3]
  • วิธีเรียกใช้งาน Model เจ๋งๆ ใน Stable Diffusion [ตอนที่2]
  • วิธีใช้งาน AI สร้างรูปสุดเจ๋งและฟรีด้วย Stable Diffusion ฉบับมือใหม่ [ตอนที่1]
  • 10 ไอเดีย เรียนรู้ Excel ผ่าน ChatGPT AI สุดเจ๋ง

บทความแนะนำ

🔥ฟังก์ชันทั้งหมดใน Excel 🔥

  • แกะเคล็ดวิชา Excel Wizard ในการแข่ง Speed Run Excel ระดับโลก
  • เจาะลึก CALCULATE ใน DAX แบบลึกสุดใจ : Part 1
  • Series สอนดึงข้อมูลจากเว็บ ด้วย Power Automate Desktop
  • สรุปการใช้ LAMBDA ฟังก์ชันที่ใช้สร้างฟังก์ชันใน Excel 365 และผองเพื่อน
  • วิธีใช้ Excel คำนวณระยะเวลาการทำงานรวม แถมระบุเวลาพักได้แบบยืดหยุ่น
  • วิธีจัดการข้อมูลแย่ๆ ด้วย Power Query ทั้งข้อมูลปนกัน ข้อมูลอยู่บนหัวตาราง
  • แยกข้อมูลที่อยู่สุดเน่า ด้วย Excel Power Query

Categories

Tags

ai collection concepts copy database Data Model data validation date dax dropdown error excel filter finance find format formula function game graph IF index intro inventory len link logic lookup match m code merge mid overview paste pivot power query right row solver sort speed split substitute table text time tips trim vba vlookup

Archives

  • April 2023 (3)
  • March 2023 (2)
  • February 2023 (2)
  • January 2023 (1)
  • October 2022 (1)
  • September 2022 (3)
  • August 2022 (3)
  • July 2022 (1)
  • June 2022 (3)
  • May 2022 (1)
  • April 2022 (2)
  • February 2022 (1)
  • December 2021 (2)
  • November 2021 (10)
  • September 2021 (2)
  • August 2021 (6)
  • July 2021 (2)
  • June 2021 (2)
  • May 2021 (10)
  • April 2021 (3)
  • March 2021 (3)
  • February 2021 (4)
  • January 2021 (8)
  • December 2020 (5)
  • November 2020 (13)
  • October 2020 (5)
  • September 2020 (11)
  • August 2020 (4)
  • July 2020 (13)
  • June 2020 (17)
  • May 2020 (16)
  • April 2020 (16)
  • March 2020 (10)
  • February 2020 (15)
  • January 2020 (16)
  • December 2019 (4)
  • November 2019 (3)
  • October 2019 (9)
  • September 2019 (1)
  • August 2019 (7)
  • June 2019 (3)
  • May 2019 (9)
  • April 2019 (9)
  • March 2019 (2)
  • February 2018 (1)
  • January 2018 (3)
  • November 2017 (3)
  • August 2017 (1)
  • July 2017 (1)
  • June 2017 (1)
  • May 2017 (6)
  • April 2017 (6)
  • March 2017 (7)
  • February 2017 (1)
  • January 2017 (2)
  • December 2016 (1)
  • October 2016 (2)
  • September 2016 (3)
  • August 2016 (2)
  • July 2016 (2)
  • June 2016 (1)
  • May 2016 (1)
  • April 2016 (1)
  • March 2016 (2)
  • February 2016 (1)
  • January 2016 (2)
  • December 2015 (2)
  • November 2015 (5)
  • October 2015 (3)
  • June 2015 (2)
  • May 2015 (1)
  • April 2015 (26)
  • January 2015 (1)
  • December 2014 (1)
  • November 2014 (2)
  • October 2014 (1)
  • September 2014 (2)
  • August 2014 (1)
  • June 2014 (1)
  • May 2014 (1)
  • April 2014 (3)
  • March 2014 (3)
  • February 2014 (12)
  • January 2014 (7)
  • December 2013 (2)
  • November 2013 (8)
  • October 2013 (2)

เทพเอ็กเซล : Thep Excel

copyright © 2022

  • Facebook
  • YouTube
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies)
บริษัท เทพเอ็กเซล จำกัด ให้ความสำคัญต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์รวมถึงสินค้าและบริการต่างๆ หากท่านใช้บริการเว็บไซต์นี้ โดยไม่มีการปรับตั้งค่าใดๆ แสดงว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ และนโยบายสิทธิส่วนบุคคลของเรา
ตั้งค่าคุกกี้ยอมรับทั้งหมดอ่านเพิ่มเติม
Manage consent

Privacy Overview

This website uses cookies to improve your experience while you navigate through the website. Out of these, the cookies that are categorized as necessary are stored on your browser as they are essential for the working of basic functionalities of the website. We also use third-party cookies that help us analyze and understand how you use this website. These cookies will be stored in your browser only with your consent. You also have the option to opt-out of these cookies. But opting out of some of these cookies may affect your browsing experience.
Necessary
Always Enabled
Necessary cookies are absolutely essential for the website to function properly. These cookies ensure basic functionalities and security features of the website, anonymously.
CookieDurationDescription
cookielawinfo-checkbox-analytics11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics".
cookielawinfo-checkbox-functional11 monthsThe cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional".
cookielawinfo-checkbox-necessary11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary".
cookielawinfo-checkbox-others11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other.
cookielawinfo-checkbox-performance11 monthsThis cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance".
viewed_cookie_policy11 monthsThe cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data.
Functional
Functional cookies help to perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collect feedbacks, and other third-party features.
Performance
Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.
Analytics
Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.
Advertisement
Advertisement cookies are used to provide visitors with relevant ads and marketing campaigns. These cookies track visitors across websites and collect information to provide customized ads.
Others
Other uncategorized cookies are those that are being analyzed and have not been classified into a category as yet.
SAVE & ACCEPT