Tag: open

  • จัดเต็มสอนวิเคราะห์ข้อมูลจาก Data.go.th จบครบทุกขั้นตอนแบบละเอียดยิบ

    จัดเต็มสอนวิเคราะห์ข้อมูลจาก Data.go.th จบครบทุกขั้นตอนแบบละเอียดยิบ

    จัดเต็ม! สอนใช้ Excel วิเคราะห์ข้อมูลจาก Data.go.th (Open Government Data of Thailand) จบครบทุกขั้นตอนแบบละเอียดยิบ ตั้งแต่ค้นหา รวบรวมและดัดแปลงข้อมูล ยันสรุปผล และ ทำซ้ำแบบสบายๆ

    ซึ่งขอเตือนไว้ก่อนว่าคลิปยาว 40 นาที แต่รับรองว่าเป็น 40 นาทีที่ได้ความรู้เพิ่มไปมากมายแน่นอน เพราะมีเทคนิคเจ๋งๆ เพียบ!

    สารบัญ

    00:00 เกริ่นนำ
    03:08 ค้นหาข้อมูลจาก data.go.th
    06:57 เริ่ม Download ข้อมูล
    13:43 รวบรวมและดัดแปลงข้อมูล
    18:48 ปัญหาในการรวบรวมข้อมูล
    32:46 สรุปผลด้วย PivotTable
    38:02 วิธีทำรายงานซ้ำเมื่อมีข้อมูลเพิ่ม
    40:01 แนะนำเพจ DIGI

    ค้นหาข้อมูล

    ค้นจาก https://data.go.th/ มีเทคนิคค้นหาไงให้หาเจอสิ่งที่ต้องการ?
    ซึ่งในคลิปผมต้องการวิเคราะห์ข้อมูล นำเข้า ส่งออก ของไทยในปี 2021 เทียบกับ 20 ปีก่อนหน้า
    (ตอน Save ข้อมูล ถ้าขี้เกียจ Save หลายไฟล์แบบในคลิป ให้ลองแค่บางเดือนก่อนก็ได้ครับ)

    รวบรวมและดัดแปลงข้อมูล

    จะเป็นการรวบรวมข้อมูล นำเข้า ส่งออก ของปี 2001 เทียบกับปี 2021 รวมกันทั้งหมด 48 ไฟล์ ทำยังไงให้รวมกันได้ง่ายๆ และเพิ่มข้อมูลได้ง่ายๆ ในอนาคต

    สรุปผล

    แสดงวิธีสรุปผลข้อมูลด้วย PivotTable โหมด Data Model ซึ่งสามารถแสดงข้อมูลแสดง Top 5 Country แต่ว่า Sub Total / Grand Total สามารถแสดงยอดทั้งหมดได้

    ทำซ้ำ

    การที่เราใช้ Power Query ช่วย จะช่วยให้สามารถทำรายงานซ้ำ เวลามีข้อมูลเพิ่มได้ง่ายๆ แค่กดปุ่ม Refresh

  • การ Save / Open / เปลี่ยนมุมมองและการ Print

    การ Save / Open / เปลี่ยนมุมมองและการ Print

    co-create
    บทความนี้คือส่วนหนึ่งของโครงการ ร่วมสร้าง “หนังสือคู่มือ Excel ที่เจ๋งที่สุด” ใครที่มี comment เพื่อแนะนำ ปรับปรุงหนังสือได้ คุณจะได้เครดิตในฐานะผู้ร่วมเขียน ลงในหนังสือที่จะพิมพ์จริงๆ ด้วย! อ่านรายละเอียด และดูสารบัญหนังสือ คลิ๊กที่นี่


    ในบทนี้จะพูดถึงการจัดการไฟล์พื้นฐานเช่นการบันทึกข้อมูล การเปิดข้อมูล และการปริ้นท์ข้อมูลครับ

    การบันทึกข้อมูล (Save / Save As)

    ไปที่ [File] –> Save หรือ Save as

    • Save ก็คือ การบันทึกลงไปที่ไฟล์เดิมที่เคย Save ไว้แล้ว
    • Save as คือ การบันทึกลงไปในไฟล์ใหม่ ตั้งชื่อใหม่ได้ และเปลี่ยนนามสกุลของไฟล์ได้ด้วย

    แต่ถ้าเป็น Excel 2013 ต้องกดหลาย Step กว่าจะไปถึงหน้าที่ให้เลือกว่าจะ Save ลงที่ Folderไหน

    save2013

    หน้าตาข้างบนนี้เรียกว่า Backstage View ครับ ซึ่งเป็นหน้าที่ค่อนข้างเกะกะในความคิดของผม วิธีที่เร็วกว่าในการ Save ไปที่ Folder ตรงๆ เลยคือให้กดคีย์ลัด F12 เพื่อทำการ Save As ครับ

    แต่ว่าแบบกด F12 ก็ยังไม่ดี เพราะบางทีเราก็ลืมกด F12 แต่ดันไป Ctrl+S แทน ผมเลยอยากขอนำเสนอวิธีแก้แบบถาวร คือ ให้เลือกใน OptionsàSaveà Don’t show the Backstage when opening or saving files ครับ เท่านี้ก็จะกลับมาเหมือน Excel version ก่อนๆ แล้วล่ะ

    saveoption

    พอทำแบบนี้แล้ว ต่อไป เวลาที่คุณ Save มันจะตรงดิ่งไปยังหน้าที่ให้เลือก Folder เลย ซึ่งจะช่วยให้คุณทำงานเร็วขึ้นได้พอสมควรเลยนะ อย่าดูถูกเรื่องเล็กๆ น้อยๆ นะครับ

    นามสกุลที่สำคัญ และควรรู้จักไว้

    นามสกุล รูปแบบ ความหมาย
    .xlsx Excel Workbook เป็นรูปแบบไฟล์ของ Excel 2007 ขึ้นไป โดยที่เป็นไฟล์ที่ไม่สามารถมีการเขียนโปรแกรม VBA หรือ Macro แฝงอยู่ได้ถ้าเขียนไฟล์ Excel ปกติ ก็ให้ Save เป็นอันนี้ 

    Tips : ไฟล์นามสกุลแบบ 2007 ขึ้นไปของ Excel นั้นมีความลับซ่อนอยู่ เพราะจริงๆ แล้วมันทำตัวเหมือนไฟล์ Zip เลยแหละ ไม่เชื่อลองเปลี่ยนนามสกุลไฟล์เป็น zip แล้ว Unzip ดูซิ แล้วจะอึ้งว่ามันทำได้ด้วยนะ!

    .xlsm Excel Workbook (code) เป็นรูปแบบไฟล์ของ Excel 2007 ขึ้นไป สามารถมีการเขียนโปรแกรม VBA หรือ Macro แฝงอยู่ได้ถ้าเขียนไฟล์ Excel ที่มี VBA/Macro ให้ Save เป็นอันนี้
    .xls Excel 97- Excel 2003 Workbook เป็นรูปแบบไฟล์ของ Excel 97-2003 ซึ่งจะมีข้อจำกัดมากกว่า (เช่นมีจำนวนแถวน้อย) แต่สามารถมีการเขียนโปรแกรม VBA หรือ Macro แฝงอยู่ได้ถ้าเขียนไฟล์ Excel ที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่มี Excel version เก่าๆ เช่น 2003 ให้ Save เป็นอันนี้
    .xlam Excel Add-In เป็น Add-in เครื่องมือเสริมประสิทธิภาพ Excel 2007 ขึ้นไป
    .xla Excel 97-2003 Add-In เป็น Add-in เครื่องมือเสริมประสิทธิภาพ Excel 97-2003

    นอกจากนี้คุณยังสามารถ Save ไฟล์เป็นรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช้ Excel ได้ด้วย เช่น Txt, CSV, PDF ซึ่งทำให้สะดวกมากในการที่เราจะเผยแพร่งานไปให้คนอื่น เช่น ส่ง Report เป็น PDF (ถ้าเป็น Excel 2007 ต้องไปโหลด Add-in ก่อน ซึ่ง Search ใน Google ได้ครับ) 

    Compatibility : เราเข้ากันไม่ได้

    คนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ มักคิดอะไรหรือมองอะไรไม่เหมือนกัน บางทีทำงานด้วยกันก็อาจเกิดความขัดแย้งกันบ้าง คนรุ่นใหม่กว่ามักจะรู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจทำให้คนรุ่นเก่าเอ๋อไปเลยก็ได้

    ใน Excel ก็เช่นกัน การทำงานใน Excel Version ใหม่กว่า บางทีถ้าเรามีการใช้ฟังก์ชั่นหรือคำสั่งที่ Excel version เก่าไม่มี ก็อาจมีปัญหาเวลาไปเปิดใน Excel Version เก่าได้ ยกตัวอย่างเช่น ใน Excel 2010 มีฟังก์ชั่นหาผลสรุปที่ชื่อว่า AGGREGATE แต่ Excel 2007 ไม่มีเป็นต้น

    ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้ว่าไฟล์เราจะมีปัญหากับ Excel Version เก่ากว่าหรือไม่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Compatibility Checker นั่นเอง

    วิธีใช้คือ ให้ไปที่ [File] –> Info –> Check for Issue –> Check for Compatibility

    ถ้ามีปัญหามันจะขึ้นคล้ายๆ แบบนี้

    compat

    วิธีแก้ก็คือ อาจต้องเลี่ยงไปใช้ฟังก์ชั่นอื่น หรือวิธีอื่นที่ให้ผลลัพธ์ได้เหมือนกัน เช่น ถ้าคนอื่นมี Excel 2007 คุณอาจต้องใช้ฟังก์ชั่นหากผลสรุปที่ชื่อว่า SUBTOTAL แทน AGGREGATEเป็นต้น

    การเปิดข้อมูลเดิมที่เคยบันทึกไว้ (Open)

    การเปิดไฟล์นั้นไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก นั่นคือให้ไปที่ [File] –> Open แล้วเลือก File ที่ต้องการ

    Tips : ใน Excel 2013 ถ้าไม่อยากทำการ Open หลาย Step อย่าลืมไป Disable Backstage View
    ใน OptionsàSaveà Don’t show the Backstage when opening or saving files ล่ะครับ (ถ้าติ๊กไว้ตั้งแต่ตอนที่ผมแนะนำตอนจะ Save ข้อมูลแล้ว ตรงนี้เป็นตัวเดียวกันครับ)

    เปิดไฟล์แล้วเจอ Protected View มันคืออะไร?

    การเปิดบางไฟล์ที่ค่อนข้างมีความเสี่ยง เช่น ไฟล์ที่โหลดมาจาก Internet หรือโหลดมาจาก Email จะมีการขึ้นข้อความมาเตือนว่ากำลังอยู่ในโหมดของ Protected View  เพราะ Excel พยายามป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณให้ปลอดภัย (ดูสิ หวังดีแค่ไหน!) ซึ่งถ้าหากคุณมั่นใจในคนที่สร้างหรือคนที่ส่งไฟล์นี้มาให้คุณ คุณก็สามารถกด Enable Editing  เพื่อยินยอมให้เปิดแก้ไขไฟล์นี้ได้ตามปกติได้ครับ

    online-file

    นอกจากนี้เวลาที่เปิดไฟล์ที่มีการเขียนโปรแกรมพวก Macro/VBA มาใช้งาน Excel จะขึ้นแถบสีเหลืองมาเตือนว่ามี Macro อยู่ จะให้ Enable เพื่อใช้งานหรือไม่

    endble-macro

    • ถ้าไม่กด Enable This Content : การใช้งาน Macro ในไฟล์นั้นก็จะถูกปิดไปเลย
    • ถ้ากด Enable This Content : Excel จะถือว่าไฟล์นั้นเป็นไฟล์ที่น่าเชื่อถือ (Trusted Document) แล้ว และมันจะไม่ถามซ้ำอีก นอกจากคุณจะเปลี่ยนตำแหน่งไฟล์ย้ายไปยัง Folder อื่น หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์ การเป็น Trusted Document ก็จะหมดไป เพราะจริงๆ มันทำการบันทึกการอ้างอิงตำแหน่งเป๊ะๆ ของไฟล์นั้นเอาไว้นั่นเอง

    การเปลี่ยนมุมมองการจัดการข้อมูล

    เวลาที่คุณทำงานใน Excel นั้น บ่อยครั้งที่ต้องทำงานกับข้อมูลจำนวนมากที่อาจจะมองเห็นไม่หมดในหน้าเดียว ดังนั้นคุณควรจะเรียนรู้วิธีการดูข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยใช้เครื่องมือดังนี้

    Zoom

    เราสามารถปรับ % การ Zoom ข้อมูลได้จากทั้ง Status Bar ด้านขวาล่าง และการใช้ Ribbon [View]à Zoom à Zoom แล้วเลือกค่าการ Zoom ที่ต้องการ

    ที่นี้เราสามารถเลือกให้ Excel Zoom ไปยัง Range ที่เราต้องการได้ โดยให้เลือก Range ที่เราต้องการก่อน จากนั้นไปที่ [View]à Zoom à Zoom to Selection

    Picture Link

    เทคนิคนี้เอาไว้ดูผลลัพธ์ที่อยู่ที่ไกลๆ ได้ และมีข้อดีมากๆ อีกอย่างคือ สามารถย่อหรือขยายขนาดให้ไม่เหมือนต้นฉบับได้ด้วย วิธีการคือให้ เลือก Range ต้นฉบับ กด Copy แล้วกลับมายังปลายทาง แล้ว Paste Linked Picture (จากนั้นก็ย่อ/ขยาย หรือถม Fill สีขาวให้เห็นชัดมากขึ้นได้เลย)

    Split

    อันนี้จะเป็นการแบ่งหน้าจอออกเป็นหลายๆ ส่วน สามารถเลื่อนดูข้อมูลได้พอสมควร

    วิธีสั่งงาน ให้ไปที่ [View] –> Window –> Split

    จะเห็นว่า คุณสามารถเลื่อนจอให้เห็นช่องที่อยู่ไกลกันมากๆ ได้ด้วย

    split

    Freeze Pane

    เป็นการตรึงเอาคอลัมน์หรือแถวที่ต้องการไว้กับที่ ไม่ว่าเราจะเลื่อน Scroll Bar ไปที่ไหน คอลัมน์หรือแถวที่ตรึงไว้ก็จะมองเห็นอยู่เช่นเดิม มีประโยชน์มากกับคอลัมน์หรือแถวที่เป็นหัวตารางนั่นเอง

    วิธีสั่งงาน ให้ไปที่ Cell แรกสุดที่ไม่ต้องการให้ถูก Freeze จากนั้นไปที่ [View] à Window à Freeze Panes à Freeze Panes จะพบว่าคอลัมน์ทางซ้ายทั้งหมด และแถวด้านบนทั้งหมด ของ Cell ที่ทำการกดสั่ง Freeze Panes นั้นจะถูกตรึงอยู่กับที่ทันที เช่น กดสั่งที่ C4 จะทำให้คอลัมน์ A,B และ แถว 1-3 ถูก Freeze ไว้ทันที

    freeze1

    จะเห็นว่าแม้จะเลื่อนหน้าจอไปไกลแค่ไหน ก็ยังเห็นคอลัมน์ A, B และ แถว 1-3 ถูกตรึงอยู่ที่เดิม

    freeze2

    Hide

    ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงวิธีการ Hide ข้อมูลไปแล้วบ้าง แต่ผมจะขอสรุปอีกครั้ง คือ การ Hide เป็นการซ่อนข้อมูลที่ User ผู้ใช้งานอาจไม่จำเป็นต้องดูออกไปซะ ซึ่งหากใช้ผสมผสานกับการ Protect Sheet ที่จะพูดถึงภายหลัง ก็น่าจะช่วยให้ไฟล์ของคุณมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะคุณสามารถล๊อคไม่ให้คนอื่นมา Unhide Column หรือ Row ที่คุณต้องการได้ หากคนนั้นไม่รู้ Password

    วิธีการทำคือให้เลือก Row หรือ Column ที่ต้องกดจะซ่อน แล้วกดคลิ๊กขวา –> Hide ได้เลย 

    Grouping

    อันนี้จะคล้ายๆ กับการ Hide แต่จะเพิ่มปุ่ม + หรือ – มาให้กดง่ายขึ้น เพื่อแสดงหรือซ่อนข้อมูล ซึ่งเครื่องมือนี้จะเหมาะกับการให้กดดูข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่าการตั้งใจซ่อนข้อมูลไปเลย

    วิธีการทำ คือ

    • เลือก Column หรือ Row ที่ต้องการจะ Group
    • ไปที่ [Data]–> Outline–> Group
      group
      group2
    • โดยที่คุณสามารถตั้งค่าได้ว่า เมื่อทำการ Group ข้อมูลไปแล้ว ปุ่ม + จะไปอยู่ตำแหน่งไหนของข้อมูล เช่น ด้านซ้าย หรือ ขวา,  บน หรือ ล่าง โดยไปตั้งค่าที่มุมขวาล่างของ [Data]–>Outline
      group3

    การ Print ข้อมูล

    การทำงานในชีวิตจริง เราคงหลีกเลี่ยงการ Print ข้อมูลออกมาได้ยาก เพราะว่าบางทีการดูในกระดาษ ก็ยังสะดวกในการอ่าน สะดวกในการแก้ไขหรือ Comment มากกว่าการทำใน Computer

    และถึงแม้กับคนที่อยากจะ Paperless สุดๆ คือไม่อยากใช้กระดาษเลยจริงๆ ก็ยังหลีกเลี่ยงการ Print ไม่ได้เช่นกัน เนื่องจากก็ยังอาจต้อง Save เป็น PDF ซึ่งต้องมีการจัดหน้ากระดาษให้เหมาะสมอยู่ดี…

    ดังนั้นผมกำลังจะบอกว่ายังไงๆ เราก็ควรหัดตั้งค่ากระดาษเพื่อ Print ให้เป็นนะครับ ไม่ว่ากระดาษของคุณจะเป็นกระดาษจริงๆ หรือกระดาษ Digital ก็ตาม

    การตั้งค่าขนาดกระดาษ

    ขั้นตอนแรกสุดในการเตรียมการ Print ก็คือการตั้งค่าขนาดกระดาษ ซึ่งทำได้โดยไปที่
    [Page Layout]–> Page Setup –> ตรงนี้จะมีปุ่มให้เลือกหลายตัวเลย ซึ่งมีความหมายดังนี้

    • Margins : คือการตั้งค่าระยะห่างระหว่างข้อมูลกับขอบกระดาษด้านต่างๆ ซึ่งตั้งค่าแยกกันได้ทั้งบน ล่าง ซ้าย ขวา เป็นต้น แถมเลือกให้จัดข้อมูลอยู่กลางหน้ากระดาษได้ด้วย
    • Orientation : เป็นการตั้งค่าว่าจะ Print ลงกระดาษ แนวตั้ง (Portrait) หรือ แนวนอน (Landscape)
    • Print Areas : เป็นการตั้งค่าว่าจะ Print ข้อมูลตรงไหนบ้าง (Excel ไม่ได้ Print ออกมาเหมือนกับที่เรากำลังมองเห็นในหน้าจอนะครับ) สามารถตั้งค่าได้โดยให้เลือก Range ที่ต้องการ แล้วเลือก Set Print Area
    • Print Titles : เอาไว้ตั้งค่าสิ่งที่ต้องพิมพ์ซ้ำๆ ออกมาทุกหน้า เช่น เราอาจตั้งค่าหัวตารางให้พิมพ์ออกมาทุกหน้าโดย ไปเลือกแถวที่เป็นหัวตารางไว้ใน Rows to repeat at top: เป็นต้น

    การปรับย่อ/ขยายข้อมูล

    หากเราต้องการให้ข้อมูลมีขนาดพอดีหน้ากระดาษ เช่น 1 หน้าข้อมูล/1 หน้ากระดาษ หรือว่า 2 หน้าข้อมูล/1 หน้ากระดาษ เราสามารถตั้งค่าการย่อ/ขยายข้อมูลได้ โดยให้ไปที่

    [Page Layout]–> Scale to Fit –> ตรงนี้จะมีให้เลือกดังนี้

    • Width: ระบุว่าจะเอาความกว้างกี่หน้าข้อมูลต่อ 1 หน้ากระดาษ
    • Height: ระบุว่าจะเอาความสูงกี่หน้าข้อมูลต่อ 1 หน้ากระดาษ
    • Scale : ระบุการย่อ/ขยายเป็น Percent % (หากเลขน้อยกว่า 100% คือย่อข้อมูลให้เล็กลง)

    Page Break Preview

    แม้จะตั้งค่าขนาดกระดาษไปแล้ว ก็ยังไม่จบครับ คุณควรจะมาลองดูภาพรวมก่อนพิมพ์กันชัดๆ ที่ Page Break Preview ซะก่อน โดยให้ไปที่ [View] –> Workbook Views –>  Page Break Preview

    จากนั้นให้ลอง Zoom out ออกไปให้เห็นภาพรวม คุณจะเห็นเส้นสีฟ้าเป็นตัวแบ่งหน้ากระดาษอยู่ ซึ่งเราสามารถย้ายเส้นแบ่งไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมได้ ถ้าสังเกตดีๆ เส้นจะมี 2 แบบ คือ

    • เส้นประ ซึ่งจะเกิดขึ้นมาเองจากการจัดหน้ากระดาษ การปรับย่อ/ขยาย ตอนจะ Print
      pagebreak
    • เส้นทึบ เกิดจากการที่เราลากเส้นแบ่งหน้ากระดาษแบบ Manual ใน Page Break Preview นี้ หรือการใส่ Break เองใน [Page Layout] –> Page Setup –> Breaks –> Insert Page Break นั่นเอง
      pagebreak2
      credit รูปชั่วคราวจาก : https://support.office.com/en-ie/article/Insert-move-or-delete-page-breaks-in-a-worksheet-ad3dc726-beec-4a4c-861f-ed640612bdc2

    Page Layout View

    นอกจาก Page Break Preview  แล้วก็ยังมีมุมมองอีกอย่างที่น่าจะดู คือ Page Layout View โดยไปที่ [View] –> Workbook Views –> Page Layout View ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมเมื่อจะ Print ได้ชัดขึ้น โดยมีแถบไม้บรรทัดขึ้นมาให้ดูด้วยว่าแต่ล่ะส่วนมีขนาดประมาณไหน มี Header/Footer แบบไหน แถมยังปรับพวก Margin ได้อีก

    page-layout-view