ติวเข้มก่อนเข้าโรงเรียนเวทมนตร์ #2 : ข้อควรระวังในการเขียนวันที่ในสูตร 1

ติวเข้มก่อนเข้าโรงเรียนเวทมนตร์ #2 : ข้อควรระวังในการเขียนวันที่ในสูตร

จากตอนที่แล้วที่ผมได้อธิบายเฉลยข้อสอบเข้าโรงเรียนจอมเวทเทพเอ็กเซล ไป 2 เรื่องแล้ว วันนี้มาต่ออีกเรื่องซึ่งเป็นข้อที่มีคนผิดมากที่สุดครับ โดยโจทย์ที่ถามคือ…

8) ตามรูป หากเขียนสูตรว่า =IF(A1<31/12/2016,”ยังไม่หมดเขต”,”หมดเขตแล้ว”) ผลลัพธ์จะได้ออกมาเป็นอะไร?
(A1 คือ วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2016)

011

ข้อนี้หลายคนโดนหลอกอย่างจัง เพราะข้อนี้คำตอบคือ “หมดเขตแล้ว”

สาเหตุคือ เวลาเราเขียนค่าที่เป็นวันที่ลงไปในสูตร หากเราดันไปเขียนว่า =A1<31/12/2016 มันจะกลายเป็น เอา 31 หารด้วย 12 แล้วหารด้วย 2016 แทน (ไม่เชื่อลองเขียนสูตรว่า =31/12/2016 ดูสิ จะได้ ซึ่งจะได้ A1<0.00128141534391534  )

ดังนั้นสูตรที่เขียนว่า =A1<31/12/2016 จะได้ =A1<0.00128141534391534

ซึ่ง A1 เป็นวันที่จริงๆ ซึ่งมันเปรียบเทียบได้เป็นเลข 42611 (จริงๆ แล้ววันที่คือเลขธรรมดา เช่น 1 มกราคม ค.ศ. 1900 คือเลข 1, 2 มกราคม ค.ศ. 1900 คือเลข 2 …)

ดังนั้นสูตรที่เขียนจริงเหมือนกับเขียนว่า =42611<0.00128141534391534 ดังนั้นมันจึงออกมาเป็น FALSE ซึ่งก็คือ “หมดเขตแล้ว” นั่นเอง

ทีนี้หากจะเปรียบเทียบวันที่แบบถูกต้องจะทำยังไงได้บ้าง???

ผมอยากจะแนะนำ 3 วิธีด้วยกันนะครับ ลองเอาไปเลือกใช้ดูตามความเหมาะสม

1. เขียนวันที่เป็น Text แล้วแปลงเป็นตัวเลข

วิธีนี้เป็นวิธีที่น่าสนใจอีกอันหนึ่ง เพราะสามารถเขียนในรูปแบบวันที่ แต่สามารถคำนวณได้อย่างถูกต้องได้ด้วย

วิธีเขียนคือ ให้เขียนวันที่ในเครื่องหมายคำพูด แล้วเอาไป convert ให้เป็น Number โดยการเอาไปทำอะไรซักอย่างกับ Math Operator เช่น *1, +0, ใส่ – นำหน้า เป็นต้น (ส่วนตัวผมชอบใส่ – นำหน้า เพราะสังเกตง่าย และคำนวนเร็วสุด)
explain-03

ซึ่งพอกด Enter ผลลัพธ์ก็จะออกมาเป็น “ยังไม่หมดเขต” ตามที่ควรจะเป็น (อย่าลืมลองเปลี่ยนวันที่เล่นดูว่าสูตรยังทำงานถูกหรือไม่?)

แต่วิธีนี้มีข้อควรระวัง คือ เรื่องของ Format วันที่ของ Region and Language ใน Control Panel ของคอมพิวเตอร์ที่กำลังเปิดไฟล์นั้นๆ อยู่ เพราะอาจทำให้วันและเดือนสลับกันได้ซึ่งอันตรายพอตัวเลยครับ

เช่น บางเครื่องตั้งค่าวันที่แบบที่อ่านค่า 3/4/2016 แปลว่า วันที่ 3 เดือน 4 แต่บางเครื่องตั้งค่าให้แปลว่า วันที่ 4 เดือน 3 เป็นต้น

ซึ่งการที่เราใส่วันที่เป็นรูปแบบตัวเลข xx/yy/zzzz แบบนี้ มันเป็นการ Hard Code แบบใส่ค่าคงที่ลงไปในสูตร ซึ่งไม่ว่าจะเปิดที่ Computer เครื่องไหนก็ตาม มันก็จะเห้นสูตรแบบเดียวกันหมดนี่แหละ แต่อาจตีความไม่เหมือนกันก็ได้

ดังนั้น ถ้าจะใช้วิธีนี้ โปรดทำให้แน่ใจว่า ไฟล์ที่เราทำจะถูกเปิดใช้โดย Computer ที่ตั้งค่า Format วันที่ของ Region and Language แบบที่เราคิดไว้เท่านั้น

2.เขียนวันที่ลงไปใน Cell เลย

วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีตรงที่เห็นชัดว่าเรากำลังเปรียบเทียบกับวันอะไรอยู่?
explain-01

ซึ่งพอกด Enter ผลลัพธ์ก็จะออกมาเป็น “ยังไม่หมดเขต” ตามที่ควรจะเป็น

วิธีนี้สิ่งที่เราต้องทำคือ จงแน่ใจว่าเราใส่รูปแบบวันที่แบบเดียวกับวันที่ที่นำมาเปรียบเทียบ เช่น ถ้าเป็น DD/MM/YYYY ก็ใส่ให้เหมือนกัน หรือถ้าเป็น MM/DD/YYYY ก็จงทำให้เหมือนกัน ไม่่งั้นอาจผิดเพราะเรื่อง Format วันที่ของ Region and Language แบบเดียวกับข้อข้างบนได้

3. เขียนวันที่ด้วยฟังก์ชั่น DATE

วิธีนี้มีความปลอดภัยสูงที่สุด เพราะจะไม่มีปัญหาเรื่องการตั้งค่า Format วันที่ของ Region and Language ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเลย เพราะฟังก์ชั่น DATE จะถามหา Argument แยกกัน นั่นคือ ปี เดือน วัน แต่ละตัวแยกกันโดยไม่ปนกันเลย
explain-02

ดังนั้นถ้าถามผมว่าวิธีไหนน่าจะ Work และปลอดภัยที่สุด ความเห็นส่วนตัวของผมคือ วิธีสุดท้ายนี่แหละครับ ^^

เอาล่ะ ใครอ่านจบถึงตรงนี้ ถ้าหากมีคำถามอะไร อย่าปล่อยผ่านนะครับ ถามมาได้เล้ยยยย

 

อบรม In-House Training

Feedback การใช้งาน AI Chatbot