Tag: finance
อธิบายละเอียดยิบเรื่องการเงิน NPV, XNPV, IRR, XIRR ต่างกันยังไง ใช้อะไรดี?
ผมได้เคยสอนใช้ฟังก์ชันทางการเงินอย่าง NPV และ IRR กันไปคร่าวๆแล้ว ซึ่งมันเป็นฟังก์ชันทางการเงินที่มีประโยชน์ในการช่วยตัดสินใจได้ว่า Project ให้ผลตอบแทนคุ้มค่าแค่ไหน น่าลงทุนหรือไม่? แต่ถ้าเราสังเกตดูแล้วมันจะมีฟังก์ชันชื่อคล้ายๆ กันอย่าง XNPV และ XIRR อยู่ด้วย แถมใน DAX ของ Power BI, Power Pivot ก็มีแค่ XNPV กับ XIRR ให้ใช้อีก แบบนี้มันสามารถใช้แทนกันได้มั้ย…
Project Feasibility การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ
เรื่องการคำนวณ Project Feasibility หรือการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ อันนี้ก็เป็นอีกประเด็นนึงที่มีคนถามผมมาเยอะพอสมควร ดังนั้นก็เลยขอเอามาเขียนอธิบายกันอีกทีนะครับ เรื่องของ Project Feasibility จริงๆนั้น มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ว่าโครงการนั้นๆ จะอยู่รอดหรือไม่ ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ในหลายแง่มุมมากๆ เช่น การดำเนินงาน, การตลาด, เทคนิค, การเงิน, กฎหมาย เป็นต้น แต่แง่มุมที่ผมคิดว่าเพื่อนๆ อยากให้ผมพูดถึง มันคือแง่มุมในเรื่องของการเงิน หรือพูดง่ายๆ คือความคุ้มค่าของการลงทุนของโครงการนั้นๆ นั่นเอง เพราะเป็นแง่มุมที่ใช้ Excel…
วิธีทำบันทึกรายรับรายจ่าย อย่างง่าย (แต่เจ๋ง) ใน Excel
การบันทึกรายรับรายจ่าย เป็นงานที่ใช้ในชีวิตจริงได้ไม่ยาก ช่วยในการเรียนรู้ Excel เบื้องต้นได้ แถมยังเป็นการฝึกวินัยทางการเงินได้อีกด้วยครับ ถ้าเราบันทึกรายรับรายจ่าย เราจะได้ทบทวนตัวเองว่ารายการไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็น อย่างมีสติมากขึ้น และจะได้รู้ว่าเราจ่ายเงินไปกับอะไรมากน้อยแค่ไหนด้วย เนื้อหาในคลิปนี้ไม่ยาก ให้เด็กๆ หัดทำก็ได้ ผมเคยสอนให้ลูกชายและเพื่อนๆ อายุ 7-10 ขวบมาแล้ว (แต่ตอนสอนไม่ได้ใช้ Table นะ) แต่ในคลิปนี้ก็มีเทคนิคหลายอย่างที่น่าสนใจอยู่มากมาย ไม่เชื่อลองดูในคลิปได้เลยครับ ^^ ตัวอย่างเทคนิคเจ๋งๆ ในคลิปนี้มีดังนี้ครับ เทคนิคการแยกรายรับรายจ่าย นอกจากจะแยกด้วยการ Cut…
การคำนวณระยะเวลาคืนทุน ( Payback Period)
หากพูดเรื่องของการใช้ Excel เพื่อคำนวณเกี่ยวกับบัญชีการเงินการลงทุนนั้น การคำนวณระยะเวลาคืนทุนหรือ Payback Period ก็เป็นอีกเรื่องที่มีหลายคนมักถามผมมามากเช่นกัน ดังนั้นก็เลยคิดว่าน่าจะเขียนเป็นบทความเพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนหมู่มากซะเลย เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายที่สุด ผมขอใช้ตัวอย่างที่ Simple มากๆ เลย ดังนี้ ตัวอย่างที่ Simple แต่ชัดเจน สมมติว่าเรามีเงินเข้าและเงินออกในแต่ละปี เราจะสามารถคำนวณเงินสุทธิในแต่ละปีได้ดังนี้ หลักๆ คือ เราต้องการทำให้เงินเข้าสุทธิเป็น + และ เงินออกสุทธิเป็น – นั่นเอง (ดังนั้นถ้าเงินออกเป็นลบอยู่แล้ว…
ใช้ Excel คำนวณมูลค่าเงินในอนาคตจากการลงทุน
“ถ้าเราลงทุน x บาท ด้วยผลตอบแทน z% เป็นเวลา y ปี สุดท้ายจะมีเงินเท่าไหร่ครับ?” นี่คือคำถามที่ผมได้รับ หลังจากที่ผม Post เรื่องการคำนวณยอดผ่อนเงินกู้ไป ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมากๆ (มีคนสนใจเรื่องกู้เงินเยอะขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย!! น่ากลัวนิดๆ นะ 555 ) เลยคิดว่า เมื่อมีคนสนใจเรื่องการลงทุนด้วย ยิ่งเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนเลย เพราะยิ่งลงทุนเร็วยิ่งได้เปรียบมากๆ นะครับ (อ่านจบแล้วจะเห็นว่าระยะเวลาการลงทุน สำคัญขนาดไหน) ดังนั้นผมจะสอนวิธีใช้ Excel…
สอนใช้ Excel คำนวณยอดผ่อนเงินกู้แบบง่ายๆ
ในฐานะที่ทำงานเกี่ยวกับสินเชื่อในธนาคารมาก่อน วันนี้ผมจะมาสอนใช้ Excel คำนวณยอดผ่อนเงินกู้แบบง่ายๆ ใครๆ ก็ทำได้ครับ ทำแป๊ปเดียว ไม่ต้องสร้างตารางผ่อนอะไรให้ยุ่งยากด้วย การผ่อนเงินกู้โดยทั่วไปสำหรับคนทั่วไป จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ แบบเงินต้นคงที่ (ดอกเบี้ย Flat Rate เช่น การผ่อนรถยนต์) แบบลดต้นลดดอก (ดอกเบี้ย Effective Rate แบบผ่อนบ้าน หรือ สินเชื่อธุรกิจ) ซึ่งผมจะสอนวิธีคิดทั้งคู่เลยครับ เอาล่ะ…
สร้างตารางสรุปยอดผ่อนเงินกู้ ด้วย Data Table
จากบทความที่แล้ว ผมได้พูดเรื่องของการใช้ Data Table มาวิเคราะห์คุณค่าของเวลาไปแล้ว… เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ในบทความนี้ผมจะแสดงตัวอย่างการสร้างตารางสรุปยอดผ่อนเงินกู้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยและระยะเวลากู้เปลี่ยนแปลงไปให้ดูครับ ก่อนอื่นให้สร้างการคำนวณยอดผ่อนต่องวดของซักสถานการณ์นึงให้ได้ก่อน ซึ่งเราจะใช้สูตร PMT ในการคำนวณดังภาพ =PMT(rate,nper,pv,[fv],[type])=PMT(อัตราดอกเบี้ยต่องวด,จำนวนงวดผ่อน,เงินต้น ให้ใส่ติดลบ เพราะ cash flow คนละทิศกัน)หมายเหตุ: ตัวอื่นเป็น optional ไม่ต้องใส่ก็ได้ครับ จากนั้นเราก็สร้างตารางสรุป ว่าจะให้ค่าเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง โดยช่องหัวมุมให้ Link สูตรไปยังคำตอบ (B6) ให้เรียบร้อยก่อน
เวลาของคุณมีค่าเท่าไหร่? สอนวิเคราะห์ด้วย Data Table เบื้องต้น
“ผมเสียดายแทนจริงๆ ที่หลายคนทำงานหนักโดยไม่จำเป็น… ใช้เวลาในการทำงานเยอะโดยไม่จำเป็น รู้หรือไม่ว่าหากคุณฝึก Excel มากขึ้นอีกนิดแล้วล่ะก็ คุณจะเก่งและสามารถทำงานได้เร็วขึ้นมาก!” นี่คือประโยคเริ่มต้นในคำนำของ หนังสือ Excel Level Up! ที่ผมเขียนไว้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมเน้นมากมาโดยตลอด และมันคือวัตถุประสงค์ของการทำ inwexcel ออกมาเลยล่ะ! แล้วทำไมผมต้องเน้นนักเน้นหนาเรื่องการลดเวลาในการทำงาน? ก็เพราะเวลาเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่ค่าที่สุดนั่นเอง! แถมเวลาคุณจะยิ่งมีค่าเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลาด้วย… ยิ่งคุณรวยมากขึ้น เวลาก็จะยิ่งมีค่ามากขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงขนาดมี Joke ที่บอกว่า ถ้า บิล เกตส์ ทำเงินตกพื้น…
เจาะลึกฟังก์ชั่นการเงินใน Excel : ตอน 3 คำนวณการผ่อนเงินกู้
ตอนนี้เป็นตอนที่ 3 ซึ่งเราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการคำนวณการผ่อนเงินกู้กันครับ ใครที่ยังไม่ได้อ่าน 2 ตอนที่แล้วก็เชิญอ่านก่อนได้เลย เพราะจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญครับ ตอนที่ 1 / ตอนที่ 2 การ Split Cash Flow ก้อนใหญ่ให้กลายเป็น Cash Flow ย่อยๆ ด้วย PMT ก่อนหน้านี้ เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนย้าย Cash Flow ข้ามเวลาไปยังอดีต (PV)…
เจาะลึกฟังก์ชั่นการเงินใน Excel : ตอน 2 วิเคราะห์แผนประกันชีวิต
คุณเคยเจอคนมาเสนอขายประกันชีวิตมั๊ยครับ? ผมรับรองว่าคุณต้องเคยเจอแน่นอน (และคงไม่ต่ำกว่า 1 ครั้งในรอบ 1 ปีด้วย!! ) แต่สิ่งที่พวกเราเจอส่วนใหญ่ จะถูกนำเสนอว่าแผนประกันแบบโน้นแบบนี้ดีมากๆ ได้ผลตอบแทนหลายเท่าของเงินลงทุนของเรา (เช่น ผลตอบแทน 200%) แต่มันจะจริงแค่ไหนน้า???? ปล. ตอนนี้เป็นตอนที่ 2 ต่อจากการปูพื้นฐานด้านการเงิน ในตอนที่แล้ว ใครยังไม่ได้อ่าน สามารถไปอ่านได้เลยที่นี่ครับ จากประกันชีวิต ทำไมมันเยอะจัง? ถ้าเราเป็นคนที่ไม่ค่อยมีความรู้ด้านการเงิน คงจะตะลึงและคล้อยตามกับการนำเสนอของตัวแทน เพราะได้เงินตอบแทนกลับมามากกว่าเงินลงทุน ยังไงก็คุ้ม…
เจาะลึกฟังก์ชั่นการเงินใน Excel : ตอน 1 ปูพื้นฐานวิชาการเงิน
จากที่ผมได้ Post ใน Facebook ไปว่าจะสอนเรื่องการวิเคราะห์แผนประกันชีวิตด้วย Excel ผมมาคิดๆ ดูแล้ว ถ้าสอนแต่เรื่องนั้นอย่างเดียว คนอ่านก็คงได้แต่จำสูตรและวิธีใช้ แต่อาจไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่เลยก็ได้ ผมขอพูดไว้เลยว่า หากคุณไม่เข้าใจหลักการด้านการเงินระดับพื้นฐาน คุณไม่มีทางใช้ฟังก์ชั่นทางการเงินของ Excel ได้ดีหรอกครับ ส่งผลให้พลิกแพลงอะไรไม่ได้เลย… เพราะฉะนั้น ผมจะขอเขียนเรื่องนี้ยาวหน่อย และคงต้องแบ่งเป็นหลายตอน โดยเริ่มตั้งแต่ความรู้พื้นฐานด้านการเงินกันก่อนเลย แต่ไม่ต้องเป็นห่วงว่ามันจะเป็นเรื่องยาก เพราะผมจะช่วยสรุป Concept หลักๆ ให้คุณเข้าใจได้อย่างกระชับที่สุด ขอแค่เปิดใจลองทำความเข้าใจมันดู เมื่อพร้อมแล้วเรามาดูกันครับ…